“เรื่องบ้านบ้าน” เป็นรายการที่จะพาผู้ชมทุกท่าน ออกเดินทางเพื่อสำรวจเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกใบนี้ • อ่านแล้ว 0
“เรื่องบ้านบ้าน” เป็นรายการที่จะพาผู้ชมทุกท่าน ออกเดินทางเพื่อสำรวจเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกใบนี้ ที่มีคุณค่า ความงาม และมีความหมาย ในทางสถาปัตยกรรม เพื่อค้นหาคำตอบของปริศนา หรือคำถามต่าง ๆ มากมายที่ซ่อนอยู่ในสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า ‘บ้าน’
สำหรับตอนแรกนี้เราจะพาไปสำรวจสถาปัตยกรรมของเมืองปีนัง อันเป็นส่วนหนึ่งในเมืองมรดกโลกจอร์จทาวน์-มะละกา ที่ขึ้นทะเบียนเอาไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 ด้วยความที่เมืองแห่งนี้มีภูมิสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนใครในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งที่น่าสนใจหลาย ๆ อย่างก็คือการออกแบบบ้าน และอาคารหลายหลัง โดยใช้กฎหมายผังเมืองของ ‘Raffles Town Planning’ อันเป็นกฎหมายที่ใช้กันในอาณานิคมที่อังกฤษมาปกครอง ซึ่งหลาย ๆ อย่างยังคงมีร่องรอยให้เห็นอย่างชัดเจนในเมืองปีนังแห่งนี้ หนึ่งในนั้นได้แก่ ‘5 Foot Way’ หรือที่เรียกกันว่า ‘หง่อคาขี่’ อันเป็นข้อบังคับให้บ้านร้านค้าที่สร้างติดถนน ต้องมีการทำทางเดินกว้างห้าฟุต เพื่อกันแดด กันฝนเพื่อคนที่เดินผ่านไปมา ด้วยเหตุเพราะบ้านเมืองแถบนี้อยู่ในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น บางทีแดดออก แต่อยู่ดี ๆ ก็มีฝนตกลงมาโดยไม่รู้ตัว และ ‘หง่อคาขี่’ นี้เอง ก็เป็นต้นแบบให้หลาย ๆ เมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำไปใช้ รวมไปถึงเมืองภูเก็ตด้วย
และนอกจากนี้ ยังมีปริศนาที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมอีกหลายเรื่อง ซึ่งบทความนี้จะขอยกตัวอย่างมาสัก 2 ตัวอย่าง แต่ถ้าใครอยากรู้เพิ่ม เราขอแนะนำให้ตามวาร์ปไปดูได้ในรายการ “เรื่องบ้านบ้าน”ทาง www.VIPA.me หรือ VIPA Application ได้เลยครับ
ตัวอย่างแรก ขอเริ่มจากสิ่งที่มักเห็นคุ้นตากันในตึกแถวแถบบ้านเรา นั่นก็คือ ‘ชั้นลอย’ หรือ ‘เหล่าเต๊ง’ ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่า ประโยชน์ของมันมีไว้เพื่ออะไร ทำไมไม่ทำเป็นอีกหนึ่งชั้นเต็ม ๆ ไปเลย การเว้นเพดานให้สูงเป็นการเปลืองพื้นที่โดยใช่เหตุหรือไม่ เรื่องนี้ได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) แขกรับเชิญผู้ร่วมสำรวจสถาปัตยกรรมไปพร้อมกับรายการ “เรื่องบ้านบ้าน” ได้กล่าวถึงหนึ่งในประโยชน์จาก “ชั้นลอย” เอาไว้ว่า เมื่อเราสร้างตึกแถว ระหว่างชั้น 1 และชั้น2 ถ้ามีระยะที่ห่างกันมาก ทำให้เพดานของชั้นที่ 1 สูงขึ้น ก็จะเป็นการดักอากาศเย็นเอาไว้ภายใน ตามหลักแล้วอากาศที่ร้อนจะลอยตัวขึ้นข้างบน ส่วนอากาศเย็นจะอยู่ข้างล่าง ด้วยภูมิประเทศแบบร้อนชื้นแถวบ้านเรา ในสมัยก่อนจึงนิยมสร้างอาคารที่มีชั้นลอยแทน เพื่อเว้นระยะให้เพดานสูงขึ้นเอาไว้ เมื่อเวลายามบ่ายที่แดดแรงทำให้อากาศร้อน ผู้อยู่อาศัยหรือทำมาค้าขายภายในตัวอาคารก็ยังอยู่ในตัวอาคารได้โดยไม่รำคาญตัวเนื่องจากความร้อนที่มากขึ้นนั่นเอง
สำหรับตัวอย่างสองก็คือ ความแตกต่างระหว่าง ‘ช็อปเฮ้าส์ กับ ‘ทาวน์เฮาส์’ ซึ่งหลายคนมักจะสับสนกันอยู่เสมอในคำเรียก โดย อ.เกรียงไกร ได้ให้ข้อสังเกตเอาไว้ว่า ‘ช็อปเฮาส์’ จะเป็นบ้านร้านค้าที่มักจะสร้างติดถนน โดยใช้พื้นที่เพื่อการค้าขายให้คุ้มค่า ส่วน ‘ทาวน์เฮาส์’ จะมีพื้นที่โล่งหน้าบ้าน เป็นที่อยู่อาศัยอย่างเดียวโดยต้องการพื้นที่โล่งหน้าบ้านเพื่อการจอดรถ หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นได้ ซึ่งนี่ก็คือหนึ่งในข้อสังเกตเพื่อแยกประเภทกันตามการใช้งานนั่นเอง
จากตัวอย่างที่ยกมา ก็คงจะทำให้ผู้อ่านได้หายสงสัยกับสถาปัตยกรรมในปีนัง ที่มีบางอย่างคล้าย ๆ กันกับเมืองไทยบ้านเรากันแล้วพอประมาณ และหากใครยังอยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ “บ้าน” ในปีนังกันอีก ก็ขอแนะนำให้ตามไปดูคลิปรายการ “เรื่องบ้านบ้าน” ตอน ‘สำรวจเมืองมรดกโลกจอร์จทาวน์-มะละกา’ กันต่อได้ทาง www.VIPA.me หรือ VIPA Application ได้เลยครับ
จากคลิปที่แล้วของ “เรื่องบ้านบ้าน” ที่บอล และยอด พาไปดูบ้านหลังแรกของมนุษยชาติมาแล้ว
ถ้าเอ่ยถึง ‘ชุมชนคลองเตย’ หรือเพียงคุณเสิร์ชคำนี้ในโลกออนไลน์
บ้านหลังแรกของมนุษยชาติ คืออะไร และมีรูปร่างหน้าตาเป็นแบบไหน ?
สำหรับ “เรื่องบ้านบ้าน” ในคลิปนี้ บอล และยอด จะพาผู้ชมทุกท่านลัดฟ้า ไปเดินสำรวจสถาปัตยกรรม